สมาธิสั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

โลกนี้มีผู้คนมากมายประสบปัญหาขาดสมาธิ โดยหลายคนอาจมีอาการของ “โรคสมาธิสั้น” (Attention Deficit-Hyperactivity Disorder) ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก และเพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น รวมทั้งทราบวิธีการแก้ไขที่ถูกต้อง

โรคสมาธิสั้นคืออะไร

ในความเป็นจริงโรคสมาธิสั้นถูกค้นพบมานานแล้ว ทว่ายังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย แต่ปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลของโรคนี้ทำได้ง่าย รวมถึงการกำหนดแนวทางการวินิจฉัยของแพทย์มีความชัดเจน ทำให้คนในสังคมเริ่มตื่นตัวในการป้องกันและรักษาโรคนี้มากขึ้น โรคสมาธิสั้นเป็นอาการที่มักเกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก ส่วนมากเกิดขึ้นในช่วงอายุก่อน 7 ขวบ ในประเทศไทยพบว่าประมาณ 5%เป็นเด็กสมาธิสั้น

สาเหตุของโรคสมาธิสั้น

สาเหตุหลักของโรคสมาธิสั้นคือสารเคมีที่ชื่อว่า Dopamine และ Noradrenaline ในสมองของเด็กมีปริมาณน้อยกว่าเด็กปกติ ซึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยสำคัญประมาณ 30-40% ดังนั้นในครอบครัวที่มีเด็กสมาธิสั้นจึงมักมีสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นโรคสมาธิสั้นอยู่ด้วย หรืออาจเกิดขึ้นจากการที่มารดามีภาวะขาดสารอาหาร ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือได้รับสารพิษบางชนิดระหว่างตั้งครรภ์ ก็มีโอกาสทำให้ลูกเป็นโรคสมาธิสั้นได้เช่นกัน ส่วนปัจจัยจากการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมจะเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้อาการของโรคดีขึ้นหรือแย่ลง

วิธีการรักษาโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่รักษาได้ โดยการรักษาโรคสมาธิสั้นให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดคือการรักษาแบบองค์รวมที่ผสมผสานการรักษาหลายๆ วิธีเข้าด้วยกัน ได้แก่ การรักษาด้วยยา เพื่อปรับปริมาณของสารเคมีในสมองให้มีความสมดุล ช่วยให้สภาวะอารมณ์ของผู้ที่เป็นโรคมีความสงบและคงที่มากยิ่งขึ้น

การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นต้องรู้จักสังเกตอารมณ์ที่เกิดขึ้น พยายามเรียนรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น ฝึกจัดการกับความเครียด ไม่ควรปล่อยให้ตัวเองอยู่ในอารมณ์สุดโต่ง ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ดีใจหรือเสียใจหรืออารมณ์อื่นๆ ที่สถาบัน BrainFit Studio สามารถช่วยให้อาการสมาธิดีขึ้นได้ เพราะมีหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อผู้ที่มีเป้นโรคสมาธิสั้นโดยเฉพาะ